ตอนที่ 1 ติดตั้ง Android Studio และ Hello World

ก่อนที่คุณจะเริ่มติดตั้ง Android Studio ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์ของคุณตรงตามข้อกำหนดขั้นต่ำของระบบ ข้อกำหนดเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่จากการเขียนบทความนี้ ข้อกำหนดขั้นต่ำของระบบคือ:

Windows:
  • 64-bit Microsoft® Windows® 8/10/11
  • สถาปัตยกรรมซีพียู x86_64; Intel Core เจนเนอเรชั่น 2 หรือใหม่กว่า หรือ AMD CPU พร้อมรองรับ Windows Hypervisor
  • แรม 8GB ขึ้นไป
  • พื้นที่ว่างในดิสก์ขั้นต่ำ 8 GB (IDE + Android SDK + Android Emulator)
  • ความละเอียดหน้าจอขั้นต่ำ 1280 x 800
macOS
  • MacOS® 10.14 (Mojave) หรือสูงกว่า
  • ชิปที่ใช้ ARM หรือ Intel Core รุ่นที่ 2 หรือใหม่กว่าที่รองรับ Hypervisor.Framework
  • แรม 8GB ขึ้นไป
  • พื้นที่ว่างในดิสก์ขั้นต่ำ 8 GB (IDE + Android SDK + Android Emulator)
  • ความละเอียดหน้าจอขั้นต่ำ 1280 x 800
Linux
  • Linux 64 บิตที่รองรับ Gnome, KDE หรือ Unity DE; GNU C Library (glibc) 2.31 หรือใหม่กว่า
  • สถาปัตยกรรมซีพียู x86_64; Intel Core รุ่นที่ 2 หรือใหม่กว่า หรือโปรเซสเซอร์ AMD ที่รองรับ AMD Virtualization (AMD-V) และ SSSE3
  • แรม 8GB ขึ้นไป
  • พื้นที่ว่างในดิสก์ขั้นต่ำ 8 GB (IDE + Android SDK + Android Emulator)
  • ความละเอียดหน้าจอขั้นต่ำ 1280 x 800

Download Android Studio

ดาวน์โหลด Android Studio ได้ที่ https://developer.android.com/studio สำหรับทั้ง Windows, macOS และ Linux รวามถึงวิธีการ Android Studio ติดตั้งสำหรับแต่ละ OS ได้ที่ https://developer.android.com/codelabs/basic-android-kotlin-compose-install-android-studio

เริ่มสร้างโปรเจคสำหรับ Android Studio Hello World ด้วย Kotlin

เมื่อเริ่มเปิด Android Studio ขึ้นมาจะเจอกับหน้าจอ Welcome to Android Studio ซึ่งจะมีตัวเลือกให้ทำการสร้างโปรเจคทั้งแบบทำแอพ Android Native และทำแอพ Flutter ซึ่งเป็นโปรเจคแบบ Cross Platform หรือทำการเปิด (Open) โปรเจคเก่าขึ้นมาแก้ไข และในแถบทางด้านซ้ายมือจะมีตัวเลือก Learn Android Studio สำหรับการเข้าถึงข้อมูลในการเรียนรู้ที่จะใช้งานและทำแอพด้วย Android Studio ได้

Android Studio หน้าจอ Welcome

หลังจากเลือก New Project ในหน้าจอก่อนหน้าแล้วจะเข้ามาที่หน้า New Project ในหน้าแสดงผลนี้จะมีตัวเลือกประเภทของโปรเจคที่เราต้องการสร้างจะมี Phone and Tablet สำหรับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต, Wear OS สำหรับอุปกรณ์เช่นนาฬิกาอัจฉริยะ, Android TV สำหรับอุปกรณ์ทีวี และ Automotive สำหรับยานพาหนะเช่นรถยนต์

ให้เลือกเป็น Phone and Tablet จากนั้นทางด้านขวามือจะมีให้เลือกรูปแบบโค้ดที่จะเป็นตัวเริ่มต้นจะมี No Acitivity สำหรับกรณีที่ไม่ต้องการให้มีหน้าจอแสดงผลเริ่มต้น โดยเราจะเป็นผู้สร้างเองตั้งแต่แรก แบบ Basic Acitvity จะมีหน้าจอเริ่มต้นให้ 2 หน้าจอและ Floating Button ให้ 1 Button ซึ่งจะเป็นหน้าจอแสดงผลแบบง่ายที่สร้างนำไปแก้ไขเพิ่มเติมได้รวดเร็วขึ้น และแบบ Bottom Naviagtion Activity สำหรับกรณีที่แอพเรามีการใช้งาน Tab ด้านล่างในการเปลี่ยนหน้าจอ สำหรับในบทความนี้ให้เลือกเป็น Basic Activity ที่เราจะใช้เป็นตัวอย่งเบื้องต้น

Android Studio สร้างโปรเจค

ในหน้าถัดไปจะเป็นการตั้งค่าสำหรับโปรเจคโดยจะมี Name ซื้อจะเป็นชื่อของแอพในตอนติดตั้งด้วย ค่านี้สามารถแก้ไขในแอพได้ภายหลัง จากนั้นจะเป็น Package Name ซึ่งค่านี้มีความสำคัญมากๆ ซึ่งจะเป็นค่าที่จะต้องตั้งให้ไม่สำกันทั่วโลกเป็นค่านี้จะเป็นชื่อ folder ที่เก็บข้อมูลในโทรศัพท์ของทุกคนที่ติดตั้งแอพ คำแนะนำที่ใช้งานกันคือจะเป็นการใช้ domain name ที่เราจดทะเบียนที่ถูกต้องถ้ามีเช่น sbayit.com และทำการ reverse หรือกลับด้านเป็น com.sbayit จากนั้นตามด้วยชื่อของแอพที่เป็นตัวเล็กและติดกันทั้งหมด หากเราไม่มี domain name ที่จดทะเบียนแบบถูกต้อง ให้เราตั้งเป็นข้อความยาว ๆ ที่เราจะมั่นใจได้ว่าจะไม่ซ้ำกับคนอื่น

ถัดไปจะเป็น Save location จะเป็นที่เก็บไฟล์โปรเจคในเครื่องของเราซึ่งสามารถเลือกได้ตามต้องการ จากนั้นจะเป็น Language สำหรับ Android Studio จะรองรับ 2 ภาษาหลักคือ Java กับ Kotlin หาเรามีความถนัดใน Java อยู่แล้วให้เลือก Java แต่ถ้าเป็นกรณีอื่นๆ แนะนำให้เลือก Kotlin เพราะเป็นภาษาที่ทาง Google แนะนำให้ใช้และมีความสามารถหลายอย่างที่ดีกว่า Java ส่วน Mininum SDK ถ้าไม่มีข้อจำกัดอะไรพิเศษให้เลือกเป็นค่าเริ่มต้นได้ จากนั้นกด Finish

Android Studio กำหนดค่าการสร้างโปรเจค Kotlin

เมื่อเข้ามาที่หน้าจอหลักแล้วให้รอสักครู่ระบบจะทำการ index ตัวซอร์สโค้ดสำหรับโปรเจคใหม่เพื่อให้มีการประมวลผลได้เร็วขึ้นหลังจากที่ทำการ index เสร็จแล้วรายชื่อไฟล์ทางด้านซ้ายมือจะแสดงผลขึ้นมาตามรูป และจะแสดงโค้ด MainActivity.kt หรือไฟล์ที่เราเปิดค้างไว้กรณีเปิดโปรเจคมาแก้ไข

Android Studio หน้าจอหลักของการเปิดโปรเจค

ในขั้นตอนการรันตัวแอพเพื่อการทดสอบสำหรับแอพ Android สามารถทำได้ 2 วิธีคือทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์โทรศัพท์ผ่านทาง USB โดยจะต้องเปิดโหมด USB Debugger ที่เครื่องโทรศัพท์ด้วย หรือใช้เป็น Emulator ที่มาพร้อมกับ Android Studio ได้ โดยในบทความนี้จะใช้เป็น Emulator ที่มากับ Android Studio

เริ่มต้นจากที่แถบเครื่องมือด้านบนขวามตามรูปจะมีไอคอนคล้ายหน้าจอโทรศัพท์มือถืออยู่ให้กดเพื่อเปิดหน้าต่าง Device Manager จากนั้นกด Create device เพื่อทำการสร้าง Emulator

Android Studio สร้าง emulator

ในหน้า Select Hardware จะเป็นการเลือกประเภทของ Emulator หรืออุปกรณ์จำลองที่เราต้องการสร้างจะมีทั่งที่เป็น Phone, Tablet, Ware OS, Desktop, TV และ Automotive ให้สามารถเลือกได้ตามต้องการในกรณีให้เลือกเป็น Phone และเลือกเป็น Nexus 5x ซึ่งเป็นหน้าจอขนาดที่มีการใช้งานค่อนข้างกลาง ๆ โดยในส่วนนี้ให้สังเกตุที่คอลัมน์ Play Store จะมีไอคอนของ Play Store อยู่ด้วยนั้นหมายความว่า Emulator ที่เราเลือกนั้นจะมี Google Service และ Play Store อยู่ด้วยทำให้เราสามารถทดสอบได้ใกล้เคียงกับเครื่องจริงมากที่สุด จากนั้นกด Next

Android Studio สร้าง Emulator Nexus 5X

เลือก version ที่ต้องการทดสอบได้ตามต้องการเลือกเป็น version ค่อนข้างเก่ากรณีที่ต้องการทดสอบความเข้ากันได้ (compatible) หรือเลือกเป็น version ใหม่หาต้องการทดสอบการใช้ความสามารถใหม่ได้

Android Studio เลือก Emulator Android Version

ในหน้านี้ให้ทำการตั้งค่าสำหรับ Emulator ได้เช่น AVD Name จะเป็นชื่อของ Emulator รวมถึงขนาดหน่วยความจำ ขนาดพื้นที่เก็บข้อมูลของ Emulator ได้เป็นต้น เมื่อตั้งค่าตามต้องการแล้วให้กด Finish

Android Studio ปรับแต่งการตั้งค่า Emulator

หลังจากกลับมาที่หน้าจอหลักจะมีรายชื่อ Emulator ที่เราสร้างขึ้นมาทางด้านขวามือตามรูปให้เรากดที่ปุ่ม Play เพื่อทำการเปิดเครื่อง Emulator

Android Studio รัน Emulator สำหรับทดสอบ

ให้รอสักครู่เพื่อให้ Emulator ทำการเปิดเครื่องขึ้นมาตามารูปด้านล่างจากนั้นให้กดที่ปุ่ม Play ที่แถบเมนูด้านบนตามรูป กดก่อนดูให้แน่ใจว่า Dropdown ทางด้านซ้ายมือของปุ่ม Play เป็นชื่อ Emulator ที่เราต้องการ

Android Studio รันโปรเจค Hello World

Android Studio จะทำการ Build โปรเจคและรันแอพไปที่ Emulator ตามรูปซึ่งจะแสดงเป็นหน้า MainAcitivity ตามรูป โดยจะมีข้อความว่า Hello first fragment มีปุ่ม Next สำหรับแสดงหน้าที่สอง และมี Folating Button สำหรับการส่งจดหมาย

Android Studio หน้าจอหลักแอพ Hello World

สามารถทดสอบการทำงานโดยกดที่ปุ่ม Next เพื่อแสดงหน้าถัดไปได้

Android Studio หน้าจอที่สองของแอพ Hello World

เมื่อทำการทดสอบเรียบร้อยแล้วสามารถกดปุ่ม Stop ที่แถวเมนูด้านบนเพื่อเป็นการหยุดการรันแอพได้

Android Studio หยุดการรันแอพ Hello World

นี้เป็นขึ้นตอนพื้นฐานในการสร้างและทดสอบการทำแอพโดย Android Studio ด้วย Kotlin ซึ่ง Android Studio ได้มีเตรื่องมือสำหรับการทดสอบการทำแอพด้วย Emulator ที่มาพร้อมกับ Android Studio ด้วยเลยทำให้การรับทำแอพสามารถทำได้ง่ายและสะดวกมาก Android Studio มี Template สำหรับการเริ่มต้นโปรเจคที่หลากหลายทำให้การทำแอพไม่จำเป็นต้องเริ่มจากโปรเนคว่างเสมอไป ทำให้การรับทำแอพสามารถทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

เขียนแอพ Android Studio

ตอนที่ 2 สำรวจซอร์สโค้ดโปรเจคของ Android Studio