ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ

การทำแอพพลิเคชั่นสำหรับแอนดรอยและไอโอเอส (iOS) จะมีรูปแบบการทำแอพพลิเคชั่นที่เป็นเนทีฟ (Native) กับการทำแอพพลิเคชั่นที่เป็นไฮบริด (Hybrid) ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องของระยะเวลาการทำแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีในการทำแอพพลิเคชั่น สำหรับการคิดค่าทำแอพพลิเคชั่นจะอยู่ที่ระยะเวลาเป็นหลัก และส่วนที่เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น เกม แอพไลพ์สด หรือแอพพลิเคชั่นขายของ จะมีเทคนิคการทำที่ต่างกันมาก ส่วนใหญ่กลุ่มที่รับทำจะเป็นคนละกลุ่มกัน โดยหลักค่าใช้จ่ายในการทำแอพพลิเคชั่นจะมีด้วยกันตามด้านล่าง

  • ค่าออกแบบแอพพลิเคชั่น
  • ค่าพัฒนาแอพพลิเคชั่น
  • ค่าเช่าเซิฟเวอร์ (กรณีแอพแบบออนไลด์)
  • ค่าฝากแอพพลิเคชั่นในสโตว์
  • ค่าดูแลแอพพลิเคชั่น

การออกแบบ

สิ่งที่เราจะต้องใช้ในการคุยกับโปรแกรมเมอร์หรือบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น สิ่งสำคัญที่จะต้องมีคือความต้องการ ถ้าความต้องการไม่ชัดเจนจะมีปัญหา คือการตีราคาอาจจะสูงมากเพราะต้องเผื่อให้กับความต้องการที่ไม่ชัดเจน และโปรเจคมีโอกาสล่มง่ายหากความต้องการนั้นนำไปสูงรูปแบบการทำแอพพลิเคชั่นที่โปรแกรมเมอร์หรือบริษัทรับทำแอพพลิเคชั่นทำให้ไม่ได้ ดังนั้นการกำหนดความต้องการและการออกแบบการทำแอพพลิเคชั่นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แอพพลิเคชั่นมีราคาที่ถูกต้องและมีโอกาสทำได้สำเร็จสูงขึ้น

ให้เรานึกภาพของการสร้างบ้าน สมมุติความต้องการของเราคือ “บ้าน 3 ชั้น 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ” การตีราคาจะเป็นไปได้กว้างมาก เพราะห้องนอนมีตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักล้าน เวลาเราอธิบายกับโปรแกรมเมอร์ความเข้าใจของเรากับโปรแกรมเมอร์อาจจะต่างกันมาก แต่ถ้าในการสร้างบ้านเรามีพิมพ์เขียวและการออกแบบภายในที่เป็นภาพจะทำให้มองภาพการทำงานของแอพพลิเคชั่นได้ตรงกัน การตีราคาจะมีความแม่นยำมากขึ้น

การออกแบบแอพพลิเคชั่นก็เป็นลักษณะเดียวกัน ถ้าเราอธิบายเป็นตัวอักษรการตีราคาจะกว้างมาก เพราะถึงเราจะเขียนความต้องการออกมาเป็นเอกสารสักกี่หน้าก็ตาม สิ่งที่ตัวอักษรอธิบายไม่ได้คือกราฟฟิคที่ต้องใช้ในแอพพลิเคชั่น ดังนั้นการออกแบบให้เป็นภาพจะช่วยให้การคำนวณราคาทำได้ง่ายและแม่นยำ รวมถึงระยะเวลาในการทำด้วย

ออกแบบแอพพลิเคชั่น #1
ออกแบบแอพพลิเคชั่น #2

สำหรับการออกแบบการทำแอพพลิเคชั่นเริ่มต้นสามารถออกแบบโดยการเขียนใส่กระดาษคร่าว ๆ ก็ได้เช่น มีหน้าแอพพลิเคชั่นสำหรับทำอะไรบ้าง แต่ละหน้าเชื่อมโยงกันอย่างไร หลักจากที่ได้ภาพรวมมาแล้ว เราสามารถใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบ เช่นเพิ่มกราฟฟิคที่ละเอียดขึ้น การเลือกสีที่จะใช้ภายในแอพพลิเคชั่น โดยใช้โปรแกรมเช่น Power Point หรือจะใช้โปรแกรมออกแบบโดยเฉพาะอย่างเช่น Adobe XD โดยโปรแกรมเฉพาะจะมีการใช้งานที่สะดวกและมีความสามารถมากกว่า เช่น การทำภาพเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแต่ละหน้าของแอพพลิเคชั่นได้

แอพพลิเคชั่นออนไลน์กับออฟไลน์

แอพพลิเคชั่นแบบออฟไลน์(Offline) จะเป็นแอพที่มีการทำงานได้โดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต มีข้อมูลและการทำงานได้จากภายในเครื่อง ตัวอย่างแอพลักษณะจะเป็น แอพเครื่องคิดเลข หรือแอพนาฬิกาปลุกเป็นต้น โดยแอพจะอัพขึ้นสโตว์ได้จะมีข้อจำกัดที่ขนาด ประมาณ 50-100MB และขนาดไฟล์ข้อมูลอีก 2-4 GB แต่ถ้าไฟล์ขนาดใหญ่มาก เวลาติดตั้งแอพก็จะใช้เวลาดาวโหลดที่นานด้วย ซึ่งต่างจากแอพแบบออฟไลน์ที่จะดาวโฆลดจะเพาะข้อมูลที่ต้องใช้จริง ๆ ในขณะนั้น และดาวโหลดเพิ่มเป็นบางส่วนเพิ่มในกรณีที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนั้นจริง ๆ

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ แอพแบบออนไลน์กับออฟไลน์
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ แอพแบบออนไลน์กับออฟไลน์

ข้อดีข้อการทำแอพพลิเคชั่นแบบออฟไลด์คือ ราคาถูกดูแลง่าย ไม่ต้องเสียค่าเช่า เซิฟเวอร์เป็นรายเดือนหรือรายปี ส่วนข้อเสียคือใช้ได้กับแอพพลิเคชั่นที่ข้อมูลไม่มาก และเวลาที่มีการอัพเดทข้อมูลจะช้ากว่าแบบออนไลด์ เพราะต้องการการอัพเดทจากผู้ใช้งานเองไม่สามารถส่งขัอมูลใหม่ไปเครื่องผู้ใช้งานได้โดยตรงเลย

แอพเนทีฟ (Native) กับไฮบริด (Hybrid)

การทำแอพพลิเคชั่นที่เป็นเนทีฟเป็นการเขียนแอแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบปฎิบัติการนั้นโดยตรง โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ออกแบบมาสำหรับระบบปฎิบัติการนั้นโดยเฉพาะ ทำให้สามารถถึงความสามารถของแต่ระบบออกมาได้อย่างเต็มที่โดยแอนดรอยจะใช้ Android Studio และ ไอโอเอสจะใช้ Xcode ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทำให้เวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเพราะต้องพัฒนาแยกในแต่ละระบบ ซึ่งนั้นหมายถึงต้นทุ่นในการพัฒนาจะเพิ่มขึ้นด้วย

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ แอพเนทีฟกับไฮบริด
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ แอพเนทีฟกับไฮบริด

สำหรับแอพพลิเคชั่นที่เป็นไฮบริดจะเป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยเครื่องมือที่สามารถเขียนครั้งเดียวแล้วแปลงไปได้ทั้งสองระบบคือ แอนดรอยและไอโอเอส ทำให้ระยะเวลาในการทำแอพพลิเคชั่นเหลือเพียงครั้งเดียว เป็นการลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก แต่นั้นหมายถึงการใช้งานที่เป็นความสามารถเฉพาะของแต่ละระบบจะทำไม่ได้ จะใช้ได้สำหรับการทำงานที่มีเหมือนกันทั้งบนแอนดรอย และไอโอเอส (แต่บางเครื่องมือในการพัฒนาสามารถแยกได้ว่าระบบแอนดรอยให้ทำแบบไหน และไอโอเอสให้ทำแบบไหนได้)

สำหรับเครื่องมือในการพัฒนาที่นิยมในปัจจุบันจะมี React Native, Ionic และ Flutter ซึ่งแอพพลิเคชั่นในลักษณะนี้จะเหมาะกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ หรือแอพที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อแสดงผลและแก้ไข จะไม่เหมาะกับแอพที่เป็นเกม หรือแอพที่มีระบบกราฟฟิคพิเศษเช่นแอพแต่งรูปภาพ แอพไลฟ์สด สำหรับ React Native และ Ionic จะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดย Ionic จะพัฒนาได้ง่ายกว่า แต่ React Native จะทำงานได้เร็วกว่า และ ส่วน Flutter เป็นน้องใหม่มาแรงที่พัฒนาโดย Google เอง ซึ่งเป็นองค์กรที่ใหญ่มาก จะมีการดูแลที่ค่อนข้างดีในระยะยาว

ค่าพัฒนาแอพพลิเคชั่น

รูปแบบที่คุ้นเคยกันส่วนใหญ่จะเป็นแบบเหมาคือ อธิบายโปรแกรมมาทั่งหมดแล้วให้คิดราคา การทำแอพพลิเคชั่นแบบนี้จะเหมาะกับแอพพลิเคชั่นขนาดเล็กที่ใช้ระยะเวลาการทำแอพพลิเคชั่นไม่นาน ตัวแอพพลิเคชั่นไม่ซับซ้อน แต่ถ้าเป็นแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่การเหมารวมทั่งโปรเจคจะทำได้อยาก หรือรับทำไปแล้วมีโอกาสล้มเหลวได้ง่าย ยิ่งถ้าความต้องการของผู้ใช้งานไม่แน่นอนเปลี่ยนไปมามีโอกาสทิ้งงานสูง

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ รูปแบบการคิดค่าทำแอพพลิเคชั่น
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ รูปแบบการคิดค่าทำแอพพลิเคชั่น

จึงเกิดการคิดราคาในรูปแบบอื่น ๆ ขึ้นมาเช่า คิดเป็นวัน หรือเป็นเดือน การคิดราคาในรูปแบบนี้จะเหมากับแอพที่มีขนาดใหญ่มาก และเหมาะกับแอพที่ต้องการดูแลตลอดเวลา เพราะการเหมาทั่งหมดจะมีราคาสูงมากเพราะต้องรวมค่าความเสี่ยงที่โปรเจคจะล้มเหลวด้วย โดยการพัฒนารูปแบบนี้โปรแกรมเมอร์จะต้องให้ซ้อสโค้ดกับลูกค้าเพราะให้ลูกค้าไปพัฒนาต่อเองได้ ในกรณีที่มีการยกเลิกการจ้าง

สำหรับแอพพลิเคชั่นแบบออนไลน์จะเหมาะกับการจ้างเป็นเดือน โดยเราสามารถกำหนดแอพขนาดใหญ่ให้เป็นหลาย ๆ รุ่น(Version) ได้ ทำให้ไม่ต้องรอแอพพัฒนาจนเสร็จจึงสามารถปล่อยให้มีการใช้งาน โดยเรากำหนดให้มีการทำงานที่สำคัญก่อนแล้วปล่อยออกมาใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลไปพัฒนาต่อไป หรือมีรายได้บางส่วนเพื่อมาใช้ในการพัฒนาต่อทำให้ลดต้นทุนในการพัฒนา และที่สำคัญถ้าเป็นแอพแบบออนไลน์ผู้ที่มาใช้งานแอพจะมีทั่งคนดีและคนไม่ดีที่จะโจมตีระบบของแอพเรา จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมเมอร์เฝ้าดูตลอดเวลา

สำหรับการทำแอพพลิเคชั่นขนาดกลางสามารถใช้ การคิดเป็นเฟสหรือบางส่วนของแอพได้เช่น การคิดเป็นจำนวนหน้า เช่น พัฒนาระบบลงทะเบียนได้ 1 ระบบ จำนวน 3 หน้า ก็คิดเงินใน่ส่วนนี้ไปก่อนได้ โดยจะดีสำหรับผู้จ้างทำแอพที่ไม่ต้องจ่ายไปก่อนโดยไม่สนว่าแอพพลิเคชั่นจะทำงานได้หรือไม่แบบการจ้างเป็นวัน หรือเป็นเดือน แต่ก็จะดีสำหรับโปรแกรเมอร์เช่นเดียวกันที่ไม่ต้องเสียงกับโปรเจคขนาดใหญ่ที่มีระยะเวลาในการทำมาก และการเปลี่ยนแปลงความต้องการบ่อย

ค่าฝากแอพในสโตว์

การทำให้ผู้ใช้งานดาวโหลดแอพพลิเคชั่นไปติดตั้งได้จะต้องมีการอัพโหลด(ส่ง) แอพของเราไปไว้ที่สโตว์โดยถ้าเป็นแอนดรอย (Android) จะต้องส่งไปที่ Play Store (เพลสโตร์) ส่วนถ้าเป็นของไอโฟน (iPhone) หรือไอแพด (iPad) จะส่งไปที่ App Store (แอพสโตว์)

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ ค่าฝากแอพพลิเคชั่นในสโตว์
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ ค่าฝากแอพพลิเคชั่นในสโตว์

ซึ่งหากแอพพลิเคชั่นของเราต้องการให้ใช้งานได้ทั้งแอนดรอยและไอโฟนจะต้องสมัครทั่ง 2 ที่โดยค่าสมัครของระบบแอนดรอยจะมีค่าใช้จ่าย $25 ดอลล่าหรือประมาณ 1,000 บาท โดยเสียค่าสมัครเพียงครั้งเดียว ส่วนถ้าเป็นของไอโฟนหรือไอแพด จะเสียค่าบริการเป็นรายปีโดยเสียปีละ $99 ดออลล่าหรือประมาณ 3,550 บาท หรือถ้าเราเป็นแอพฟรีก็สามารถตกลงเพื่อฝากกับทางผู้พัมนาแอพได้โดยราคาจะแล้วแต่ตกลงหรือรวมไปกับค่าเช่าเซิฟเวอร์ด้วยก็ได้

ค่าเช่าเซิฟเวอร์

ในกรณีการทำแอพพลิเคชั่นแบบออนไลน์ที่จะต้องมีเซิฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูล หรือสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้งานจะมีรูปแบบการเช่าที่เป็น เดือน หรือเป็นปี ก็ได้ตามแต่จะตกลงกับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น โดยจะมีทั่งแบบที่เช่าเฉพาะเซิฟเวอร์ และเก็บค่าแก้ปัญหาเป็นครั้งๆ ไปก็ได้ หรือจะรวมค่าดูแลและค่าเช่าเซิฟเวอร์ไปด้วยกันได้ ปกติการ เช่า เซิฟเวอร์จะดูจาก ขนาดของข้อมูลที่จะเก็บ และในส่วนของจำนวนของมูลที่จะต้องมีการรับส่งกันด้วย เช่น แอพสำหรับแชท หรือรับส่งข้อความ แม้จะไม่มีการเก็บข้อมูลบนเซิฟเวอร์เลยก็ตาม แต่จะมีปริมาณข้อมูลที่จะต้องรับส่งกัน ก็จะมีการคิดในส่วนนี้ด้วย

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ ค่าเช่าเซิฟเวอร์
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ ค่าเช่าเซิฟเวอร์

ค่าดูแล

สำหรับการดูแลหลังจากที่แอพใช้งานได้แล้วจะมี 2 ส่วนคือ ในกรณ๊ที่แอพมีปัญหาหรือต้องการความสามารถเพิ่ม จะมีทั้งแบบที่เป็นต่อครั้ง และจะมีที่เป็นรายเดือน อีกส่วนคึอในส่วนของเซิฟเวอร์ที่อาจจะมีการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลหรือตรวจสอบแก้ปัญหาของโปรแกรม ถ้าเป็นแอพที่ไม่ซับซ้อนมากจะไม่ต้องดูแลเป็นประจำก้ได้ ถ้าเป็นการจ้างเพิ่มเป็นครั้งๆ จะสะดวกกว่า

ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ ค่าดูแลแอพพลิเคชั่น
ค่าใช้จ่ายในการทำแอพ-ค่าดูแลแอพพลิเคชั่น

สำหรับแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ควรมีการจ้างดูแลเป็นประจำ เพราะถ้าเป็นแอพขนาดใหญ่เราสามารถแยกย่อยออกเป็นหลาย ๆ เวอร์ชั่น ตัวอย่างเช่น แอพสำหรับคุยกันเหมือนแอพไลน์ เราสามารถออกเวอร์ชั่นแรกให้พิมพ์คุยได้อย่างเดียวก่อน และเวอร์ชั่น 2 เพิ่มเรื่องการโทรคุยเข้าไปภายหลังได้ ทำให้แอพไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาที่ยาวนานกว่าจะทดลองออกสูตลาดได้ และการออกไปก่อนช่วยเราสามารถเก็บข้อมูลมาพัฒนาต่อได้ดีกว่า

อีกส่วนที่สำคัญของการมีการดูแลทีดีตลอดคือคนที่ใช้แอพพลิเคชั่นเราอาจจะมีทั้งผู้ใช้ที่ดีหรือผู้ที่ต้องการโจมตีระบบเรา เพื่อทำให้เราเกิดความเสียหายอย่างเช่นแอพที่จะต้องมีการซื้อขายหรือมีผลประโยชน์ จำเป็นต้องมีคนดูแลตลอดเวลา เพื่อป้องกันและแก้ไขในกรณ๊ที่ถูกโจมตีหรือแฮกจากผู้ช้งานที่ไม่ดีได้