ติดตั้งอูบุนตูเดสท็อป (Ubuntu Desktop) 16.04 LTS

อูบุนตูเดสท็อป (Ubuntu Desktop) เป็นลีนุกซ์ที่ได้รับความนิยมมาก จากความที่สวย และใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน รวมทั้งมีพีซี (PC) และโน๊ตบุ๊ค (Notebook) หลายยี่ห้อได้มีการติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องแทนการติดตั้งไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ซึ่งจะมีเรื่องค่าลิขสิทธิ์

เตรียมความพร้อม

สำหรับในรุ่นปัจจุบันจะเป็น Ubuntu Desktop 16.04 LTS ซึ่งสามารถดาวโหลดได้จากเวปไซต์ของอูบุนตูได้ที่ลิงค์นี้ โดยเครื่องที่จำทำการลงจะต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำคือ

  • ซีพียูแบบดูโอคอล (dual core) ความเร็ว 2 GHz
  • หน่วยความจำ (RAM) 2 GB
  • เนื้อที่ฮาร์ดดิส 25 GB
  • ดีวีดี (DVD) หรือยูเอสบี (USB) สำหรับบูตจากแฟลชไดร์ฟ (Flash Drive)
  • การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ถ้ามีจะดี)

เมื่อได้ไฟล์ ISO มาแล้วสามารถสร้างแผ่นบูตรหรือแฟลชไดร์ฟสำหรับบูตได้ โดยดูจากวีดีโอก่อนหน้าเรื่อง ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยอูบุนตู (ubuntu server) แต่ถ้าเป็นการติดตั้งบนวีเอ็มแวร์ (VMware) หรือเวอร์ชวลบ้อกซ์ (VirtualBox) สามารถใช้ไฟล์ ISO ได้โดยตรง

เริ่มติดตั้ง

เมื่อเข้ามาที่หน้าจอการติดตั้งแล้วจะมีให้เลือกว่าจะทดลองใช้ก่อน (Try Ubuntu) กับติดตั้ง (Install Ubuntu) ถ้าต้องทดลองใช้งานโดยยังไม่ต้องการติดตั้งลงไปที่ฮาร์ดดิสก็สามารถเลือก Try Ubuntu ได้

จากนั้นเลือก Install Ubuntu เพื่อเริ่มต้นการติดตั้งลงฮาร์ดดิส หน้าจอถัดมาจะมีให้เลือกว่าจะต้องการดาวน์โหลดข้อมูลใหม่ ๆ มาพร้อมกับการติดตั้งนี้เลยหรือไม่ถ้าเรามีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้ก็สามารถเลือกได้ แต่ถ้าไม่เลือกก็สามารถที่จะไปเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในภายหลังในกรณีที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตหรืออินเตอร์เน็ตช้า แล้วทำการอัพเดทเองได้เพื่อลดเวลาในการติดตั้งลง

ตัวเลือกถัดมาจะเลือกว่าต้องการดาวโหลดโปรแกรมสำหรับใช้งาน MP3, Flash หรือมัลติมีเดียอื่น ๆ ด้วยหรือไม่

แบ่งพาติชั่น (Partition)

สามารถเลือกเป็น Erase disk and install Ubuntu สำหรับกรณีที่ต้องการลบข้อมูลที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสทั้งหมดแล้วลงเป็นอูบุนตูแทน

หรือจะเลือกเป็น Something else สำหรับในกรณีที่เราต้องการกำหนดการแบ่งพาติชั่นเองได้

ข้อมูลระบบ

ต่อจากนั้นจะเป็นข้อมูลตำแหน่งของเราซึ่งจะมีผลเรื่องการปรับเวลาและการเลือกเครื่องที่เราจะใช้ในการดาวโหลดการอัพเดทต่าง ๆ ด้วย

ถัดมาตั้งค่าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านพร้อมทั้งเลือกว่าจะให้มีการเข้ารหัส home folder หรือไม่ ถ้าต้องการความปลดภัยในกรณีเครื่องหายหรือส่งซ่อมแล้วไม่ต้องการให้ใครเปิดดูข้อมูลได้ให้เลือกเป็น Encrypt my home folder แต่ถ้าต้องการให้มีการเข้าถึงได้ง่ายในกรณีเครื่องมีปัญหาซึ่งจะช่วยให้ทำการสำรองข้อมูลได้ก็ไม่ต้องเลือกข้อนี้ได้

จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มทำการติดตั้งข้อมูลลงฮาร์ดดิสซึ่งจะมีการดาวน์โหลดข้อมูลบางอย่างด้วยซึ่งถ้าเรารู้สึกว่าช้าก็สามารถกด  skip ข้ามไปได้ เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าจอให้ทำการรีสตาร์ท (Restart) เพื่อเข้าสู่การใช้งานตามปกติ