VMware Workstation Player คืออะไรและการติดตั้ง

VM หรือ Virtual Machine เป็นการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาทำให้คอมพิวเตอร์จริง (Physical Machine) 1 เครื่องเสมือนมีมากกว่า 1 เครื่องได้ โดยการกำหนดให้เครื่องเสมือน (VM) มี CPU หน่วยความจำ (RAM) และ ฮาร์ดดิส ตามที่กำหนดให้ เราสามารถที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Guest (ระบบของเครื่องเสมือนหรือ VM) ที่ต้องการได้ ส่วนใหญ๋จะเป็น Windows เวอร์ชั่นต่าง ๆ และ Linux แบบต่าง ๆ ได้ การจำลองเครื่องขึ้นมาทำให้สะดวกในการทดสอบการทำแอพพลิเคชั่นแบบออนไลน์ โดยเป็นการจำลองเครื่องเซิฟเวอร์ขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบ โดยมีข้อดีที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องเพิ่มหรือต้องไปเช่าระบบคลาวด์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและจะช้ากว่าเครื่องในระบบวง LAN เดียวกัน

Player กับ Pro

VMware Workstation จะมี 2 รุ่นคือรุ่น Player กับ Pro โดยตัว Player สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีในกรณีที่ไม่ได้ทำในเชิงการค้า ซึ่งจะมีข้อที่ต่างจากตัว Pro หลัก ๆ คือการทำ snapshots (การบันทึกสถานะของระบบไว้เพื่อย้อนกลับมาได้ภายหลัง) ไม่ได้ การทำ Cloning (คัดลอกระบบทั่งหมด) ไม่ได้ การเปิด VM หลาย ๆ VM พร้อมกันไม่ได้ (สามารถสร้างไว้ได้แต่เปิดใช้งานหรือบูตขึ้นมาได้ที่ละ 1 VM) การทำเกี่ยวกับการเข้ารหัส VM ไม่ได้ ( Encrypted VM) การเชื่อมต่อกับ vSphere (การจัดการ VMware หลาย ๆ เครื่องผ่านเซิฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว) ไม่ได้ การสร้างและแก้ไขค่า Network แบบ Advance ไม่ได้ ส่วนอื่น ๆ นอกจากนี้สามารถทำงานได้เหมือนกัน ซึ่งสำหรับการทดสอบการทำแอพพลิเคชั่นถือว่าเพียงพอ นอกจากนี้หากเราต้องการใช้ฟีเจอร์ที่ดีขึ้นแต่ไม่อยากเสียเงิน เราสามารถใช้เป็นซอฟแวร์ VirtualBox ได้ซึ่งมีการทำงานที่ใกล้เคียงกัน

การติดตั้ง

ดาวโหลดได้ที่ https://www.vmware.com/products/workstation-player.html ซึ่งจะรองรับระบบ Host (เครื่องจริง) ที่เป็นระบปฎิบัติการ Windows และ Linux โดยในส่วนของ Mac จะใช้เป็น VMware Fusion แทนซึ่งมีการทำงานเหมือนกัน โดยจะมีรุ่น VMware Fusion 11 กับ VMware Fusion 11 Pro แต่จะไม่มีส่วนของเวอร์ชั่นฟรี จะมีเป็นรุ่นทดลองใช้โดยจะมีการหมดอายุการใช้งนแทน การติดตั้งจะมีให้เลือกเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถของ Keyboard ถ้าเราใช้ Guest เป็นแบบกราฟฟิกเช่น Windows หรือ Linux ที่มีระบบ Desktop มาด้วยเราสามารถติดตั้งได้ แต่ถ้าเราใช้เป็น Command Line เช่น Ubuntu Server ในการจำลองเป็นเซิฟเวอร์สำหรับทดสอบการทำแอพพลิเคชั่นเราสามารถเลือกไม่ติดตั้งได้ ซึ่งการเลือกติดตั้งจะมีการกำหนดให้ต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่ด้วย แต่การจำลองเป็นเซิฟเวอร์ Linux ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Command Line เพราะ Host ที่เราไปเช่าสำหรับใช้งานจริงส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Command Line ยกเว้นเซิฟเวอร์สำหรับ Windows ที่จะเป็นแบบกราฟฟิก

การสร้าง VM

ส่งที่จะต้องเตรียมไว้ก่อนคือไฟล์ iso ที่เป็นตัวติดตั้งของระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux แม้ว่า VMware จะมีรองรับการติดตั้งด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากไฟล์ iso แต่การทำค่อนข้างยุ่งยาก และช้ากว่าไฟล์ iso ที่เป็นไฟล์อยู่ภายในเครื่องการรับส่งข้อมูลจะเร็วกว่ามาก หลังจากมีไฟล์ iso ให้กดสร้าง VM ได้ที่หน้าจอของ VMware โดยจะมีการกำหลดหลัก ๆ คือจำนวน CPU หน่วยความจำได้สูงสุด 64GB ฮาร์ดดิสสำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำสำหรับการแสดงผล (VRAM) ได้สูงสุด 3GB และชนิดของการเชื่อมต่อเครือข่ายหลัก ๆ จะมีแบบ NAT และ Bridge การใช้ NAT เหมาะกับระบบที่ไม่มีการเข้าถึงจากเครื่องภายนอก (เช่นการทดสอบจากโทรศัพท์มือถือ หรือจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น) นอกเหนือจากนี้ควรเลือกเป็นระบบ Bridge เพราะเราจะใช้การ์ดเครือข่ายโดยตรงและได้ไอพีเป็นวงเดียวกับที่เครืองจริงเราใช้อยู่ทำให้สามารถเข้าถึงตัว VM จากเครื่องอื่นหรือโทรศัพท์มือถือได้ เพื่อนใช้ทำหรับทดสอบการทำแอพพลิเคชั่น

การติดตังระปฏิบัติการสำหรับ VM (Guest OS)

สำหรับการติดตั้ง Guest OS จะมีสองแบบคือแบบ Easy Install ที่ VMware จะถามข้อมูลที่จะใช้ในการติดตั้งกับเราเช่นชื่อเครื่อง รหัสผ่าน เป็นต้น และเมื่อทำการติดตั้ง VMware จะทำหน้าที่กรอกข้อูลนั้นให้เราเองโดยเราไม่ต้องไล่คลิ๊กในหน้าการติดตั้งระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งจะรองรับกับบางระบบปฏิบัติการส่วนใหญ๋จะเป็น Windows หรือ Linux รุ่นเก่า ๆ โดย VMware จะดูจากไฟล์ iso ของระปฏิบัติการที่เราจะติดตั้งว่าเป็นแบบไหนก็จะเลือกวิธีติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าระบบปฎิบัติารเราไม่รองรับหรือเป็นรุ่นใหม่สามารถเลือกการติดตั้งเป็นแบบ Later หรือภายหลังได้ เพื่อเราจะได้สามารถคลิ๊กที่หน้าติดตั้งระบบปฏิบัติการและกรอกข้อมูลเองได้