Firefox คืออะไรและการติดตั้ง Windows 10

เป็นอันดับ 3 ของเว็บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมรองจาก Google Chrome และ Safari (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการดูข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทั้งข้อความ ภาพและเสียง ผ่านทาง URL ซึ่งใช้ในการอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ เผยแพร่ข้อมูล เมื่อเทียบกับบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 และ 2 แล้ว Firefox จะทำงานช้ากว่าเล็กน้อย แต่ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้ความช้านี้สังเกตุได้น้อยลง สำหรับฟีเจอร์หรือความสามารถหลัก ๆ ในการเข้าถึงข้อมูลสามารถทำงานได้เหมือนกัน

แต่จุดเด่นของ Firefox ที่ต่างจากทั้ง 2 บราวเซอร์คือ Firefox พัฒนาโดย Mozilla ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ทำให้ไม่มีข้อจำกัดทางธุรกิจ สามารถมี Plugin หรือ ส่วนเสริมที่ทำงานได้กว้างขวางกว่า โดยเฉพาะในส่วนที่อาจจะมีการกระทบกับธุรกิจเช่นการบล๊อคโฆษณา แม้ทาง Chrome จะสามารถทำได้ แต่บน Firefox จะมีส่วนเสริมที่มากกว่า และหลายตัวทำงานได้ดีกว่า ร่วมถึงส่วนเสริมที่มีความสุมเสี่ยงกับธุรกิจในด้านอื่น ๆ

และในกาาทำแอพพลิเคชั่นบางครั้งจำเป็นที่จะต้องมีบราวเซอร์มากกว่า 1 เพื่อใช้ในการทดสอบการทำแอพพลิเคชั่นหรือเวปไซต์ เช่นกรณีที่จำลองการติดต่อสื่อสารกันระกว่าผู้ใช้งาน 2 คนทำให้ต้องมีการเปิดบราวเซอร์ขึ้นมาคนละตัวกัน เพื่อให้สามารถล็อคอินเข้าชื่อผู้ใช้งานที่ต่างกันได้ เพราะถ้าเราใช้บราวเซอร์ตัวเดียวกัน แม้จะเปิด 2 หน้าต่างแต่เราไม่สามารถล็อคอินเข้าระบบ 2 ชื่อได้พร้อมกัน หรือการทดสอบที่บราวเซอร์ตัวหนึ่งล็อคอินเป็นแอดมินและอีกตัวเข้าเป็นผุ้ใช้งานทั่วไปเพื่อทดสอบการทำแอพพลิเคชั่นหรือเวปไซต์ได้ทั่งสองแบบ

การติดตั้ง

สามารถดาวโหลดได้ที่ https://www.mozilla.org/en-US/firefox/new/ โดยรองรับ Windows, MacOS, Linux, Android และ iOS สำหรับการเริ่มติดตั้งให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์ที่ดาวโหลดมาจะเป็นไฟล์ .exe จากนั้น Firefox จะเริ่มทำการติดตั้ง หลังจากติดตั้งเสร็จตัวติดตั้งจะเปิดโปรแกรม Firefox ขึ้นมาหาต้องการให้ไอคอน Firefox ขึ้นที่ Taskbar ตลอดเพื่อง่ายต่อการเปิดใช้ให้คลิ๊กขวาที่ไอคอนที่ Taskbar แล้วเลือก pin to taskbar

การตั้งค่าโฮมเพจ (Homepage)

จะมี 2 รูปแบบคือสำหรับหน้าต่างใหม่ (New Window) และสำหรับแท็บใหม่ (New Tab) ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ในเมนู Options โดยตั้งต่าเป็น Blank ที่เป็นหน้าจอสีขาวว่าง ๆ และ Custom คือแสดงเวปไซต์ทีต้องการสำหรับหน้าต่างใหม่ กับแบบที่เป็นค่าเริ่มต้นของ Firefox ที่จะแสดงเวปไซต์ที่แนะนำและเวปไซต์ที่เราเข้าบ่อย

การตั้งค่าการค้นหา

ค่าเริมต้นจะเป็นค้นหาด้วย Google ที่แถบแอดเดรสบาร์ด้านบน โดยแถบแอดเดรสบาร์นี้เราสามารถพิมพ์ค้นหาด้วย Google หรือพิมพ์ URL ของเวปไซต์ที่เราต้องการเข้าไปดูได้ โดย Firefox จะตรวจจับโดยอัตโนมัติว่าเป็นการค้นหาหรือเข้าเวปไซต์ผ่าน URL แต่ถ้าเราต้องการแยกช่องนี้ออกเป็น 2 ช่องโดยช่องแรกให้ใช้สำหรับใส่ URL ส่วนอีกช่องให้ใส่คำที่ต้องการค้นหา เราสามารถเข้าไปแก้ไขที่ Option ในหน้า Search ได้ โดยจะมีให้เลือก 2 รูปแบบคือแบบแถบแอดเดรสบาร์อันเดียว หรือจะเป็นแบบแยกก็ได้

โดยในหน้าตั้งค่านี้เราสามารถเลือกตัวค้นหาว่าจะเป็น Google หรือตัวค้นหาอื่น เช่นถ้าเกี่ยวกับซ๊อปปิ้งสามารถเลือกเป็น ebay หรือ amazon ได้ จะเป็นการค้นหาเวปเซต์ที่ไม่มีใน Google ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเวปไซต์ที่มีข้อมูลที่ผิดกฎชองทาง Google ก็อาจจะตั้งค่าเป็น DuckDuckGo ได้ ซึ่งจะมีการค้นหาที่ครอบคลุมและหลากหลายมากกว่า แต่การใช้งานค้นหาภาษาไทยจะยังไม่ดีเท่าของ Google

การติดตั้งส่วนเสริม Plugin หรือ Extension

สามารถเข้าไปเลือกดุได้ที่ https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/extensions/ ซึ่งจะเป็นเวปไซต์ที่รวม plugin อย่างเป็นทางการ สำหรับการติดตั้งให้คล๊ิกที่ Add to Firefox จะเป็นการติดตั้งและจะมีคำถามว่าจะให้ plugin นี้ใช้งานในโหมด private หรือไม่ ถ้าต้องการให้คล๊ิกที่ checkbox เพื่ออนุญาติ สำหรับโหมด private หรือ private windows จะเป็นการเข้าใจงานเวปไซต์แบบที่ไม่เก็บข้อมูลเพื่อการใช้งานที่เป็นส่วนตัว ซึ่ง plugin บางตัวจะมีการเก็บข้อมูลของเวปไซต์ที่เราเข้าส่งกลับไปยังผู้พัฒนา plugin นั้น เช่นในตัวอย่างจะเป็น plugin สำหรับตรวจสอบว่าเวปไซต์นั้นตั้งอยู่ประเทศไหน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องส่ง url ที่เราเข้ากลับไปเพื่อประมวลผล แต่ถ้าเราไม่ต้องการให้ผู้พัฒนา plugin เก็บข้อมูลนี้ไปในข้นตอนติดตั้ง plugin เราสามารถไม่คลิ๊กอนุญาติในโหมด private ก็ได้

การปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือ Theme

เวปที่รวอมรูปแบบหรือ Theme ของ Firefox จะเป็นเวปเดียวกับ Plugin แต่จะอยู่ในหัวข้อ Theme โดยเราสามารถเลือกและคลิ๊กเพื่อติดตั้งได้ที่ https://addons.mozilla.org/en-US/android/themes/ หลังจากกดเลือก Theme ที่ต้องการแล้วสามารถกด Install Theme ได้ที่หน้าเวปเลย โดย Firefox จะเลือก Theme นั้นขึ้นมาใช้งานทันที่ แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนหรือลบ Theme ที่ติดตั้งไปแล้วเราสามารถไปที่หน้าเมนู Add-ons ในหัวข้อ Theme ได้ โดยทำการเลือก Enable หรือลบออกได้

การซูม

จะมี 3 วิธีคือใช้คีย์บอร์ดอย่างเดียว กับคีย์บอร์ดรวมกับเมาส์ หรือผ่านเมนูของ Firefox โดยในส่วนของ คีย์บอร์ดให้กด Ctrl ค้างไว้แล้วกด ปุ่ม – หรือ + เพื่อทำการซูม ส่วนการทำงานร่วมกับเมาส์ให้กด Ctrl ค้างไว้แล้วหมุนที่ปุ่มกลางของเมาส์โดยถ้าหมุนลงจะเป็นการซูมออกหรือให้เล็กลงแต่ถ้าหมุนขึ้นจะเป็นการซูมเข้าไปหรือทำให้ใหญ่ขึ้น สำหรบเมนูจะกดที่ด้านบนขวา เมื่อเมนูเปิดลงมาจะมีปุ่ม – กับ + ให้กดเพื่อซูมได้โดยถ้าเราต้องการให้กลับมาที่ 100% ตามปกติสามารถกดที่ตัวเลขที่แสดงค่าการซูมได้

แต่ Firefox จะมีข้อด้วยตรงที่ไม่สามารถต้งค่าการซูลเป็นค่าเริ่มต้นได้ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้งานบ่อยโดยเฉพาในกรณีที่ใช้จอขนาดใหญ่ตั้งแต่ 24 นิ้วขึ้นไปการแปสงผลแบบ 100% ตัวหนังสือจะค่อนข้างเล็กและจะมีขอบข้าวที่หน้าจอของบราวเซอร์มาก แม้จะสามารถตั้งการการขยายของ Windows ได้ แต่ถ้าตั้งให้มากไปหรือน้อยไปก็อาจจะมีผลกับโปรแกรมอื่น ดังนั้นการตั้งค่าการซูมเริ่มต้นของบราวเซอร์ยังจำเป็นอยู่ซึ่ง Google Chrome สามารถทำได้โดยการตั้งค่าในเมูนูตั้งค่าได้

การ Reset หรือล้างค่าโรงงาน

สำหรับกรณีที่เราตั้งค่าตัว Firefox มากเกินไปจนไม่สามารถตั้งค่ากลับมาได้ หรือมีการทำงาน การแสดงผลที่ผิดพลาดเราสามารถล้างค้าได้ใหม่โดยที่ไม่ต้องลบโปรแกรมออกแล้ติดตั้งใหม่ด้วยการเข้าไปที่เวปไซต์ https://support.mozilla.org/en-US/kb/refresh-firefox-reset-add-ons-and-settings แล้วกดที่ Refresh Firefox ได้