ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยอูบุนตู (ubuntu server)

การติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์  (Web Server)  ด้วยลีนุกซ์ (Linux) มีหลัก ๆ อยู่ 2 ค่ายคือ เซนต์โอเอส (CentOS) กับอูบุนตู (ubuntu server) โดยในส่วนของอูบุนตูเซิร์ฟเวอร์จะเป็นแบบคอมมานด์ไลน์ (Command Line) ซึ่งไฟล์ติดตั้งจะขนาดเล็กและติดตั้งได้เร็ว การใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะไม่ค่อยได้ใช้หน้ากราฟฟิก (GUI) ที่เป็นแบบวินโดว์ให้คลิก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานจากระยะไกล เช่นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งไว้ที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ต้องเชื่อมต่อเข้าไปด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการใช้งานผ่านทางคอมมานด์ไลด์จะสะดวกกว่า โดยอูบุนตู (ubuntu server) โดยค่าเริ่มต้น (default) จะเป็นแบบคอมมานด์ไลน์ (Command Line) ทำให้ไม่ต้องมีการปรับแต่งในการติดตั้งมาก

สิ่งที่ต้องใช้ในการติดตั้ง

ไฟล์สำหรับการติดตั้งจะเป็นไฟล์ไอเอสโอ (ISO Image) ซึ่งไฟล์นี้การใช้งานทั่วไปต้องทำการไรท์ใส่แผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) ก่อน จากนั้นค่อยนำไปใช้ในการบูตกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าหน้าจอการติดตั้งได้

สำหรับตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบคือการติดตั้งไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์จริง กับติดตั้งลงเครื่องจำลอง (Virtual Machine) เช่น VMware หรือ VirtualBox โดยการติดตั้งไปที่เครื่องจำลองนั้นไม่จำเป็นต้องทำการไรท์ใส่แผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) ก่อน แต่สามารถกำหนดให้เครื่องจำลอง (Virtual Machine) ทำการบูตจกไฟล์ไอเอสโอ (ISO Image)  ได้โดยตรง

โดยไฟล์ติดตั้งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เวปไซต์ของทางอูบุนตู (Ubuntu Server) ได้ที่ลิงค์นี้ ซึ่งโดยปกติจะเป็นแบบ 64 บิต ถ้าต้องการดาวน์โหลดแบบ  32 บิตสามารถเข้าไปที่ Alternative downloads and torrents ที่ด้านล่างของปุ่มดาวน์โหลดแบบปกติได้

การไรท์ใส่แผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟ (Flash Drive)

สำหรับวินโดว์ที่ใช้ทดสอบจะเป็นวินโดว์ 8 (Windows 8) ซึ่งสามารถคลิกขวาที่ไฟล์ติดตั้งไอเอสโอ (ISO Image) แล้วเลือก  Burn disc image ได้เลย โดยจะมีการแสดงหน้าจอให้เลือกว่าจะไรท์ไปที่ไดร์ที่ต้องการได้ ซึ่งจะเป็นการไรท์ไปที่แผ่นซีดี (CD ROM)

ส่วนการไรท์ไปที่แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) จะต้องใช้โปรแกรมช่วยคือรูฟัส Rufus USB Installer เป็นโปรแกรมที่ดาวโหลดได้ที่หน้าของอูบุนตู (Ubuntu) ได้ โดยจะมีภาพหน้าจออธิบายการติดตั้งไว้ให้ด้วย

การบูตจากแผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟ

สำหรับเครื่องจำลอง (Virtual Machine) VMware หรือ VirtualBox ที่สร้างขึ้นมาใหม่หลังจากที่กำหนดให้บูตจากไฟล์ติดตั้งไอเอสโอ (ISO Image) แล้วจะสามารถเข้าหน้าจอติดตั้งของอูบุนตู (Ubuntu) ได้เลย

ส่วนถ้าเป็นเครื่องจริงต้องมีการกดคีย์ในตอนเปิดเครื่องว่าให้เข้าไปที่บูตเมนู (Boot Menu) ของไบออส (BIOS) เพื่อทำการเลือกว่าให้บูตจากแผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟก่อน หรือถ้าฮาร์ดดิส (Hard Disk) เครื่องนี้ยังไม่เคยมีการติดตั้งระบบปฎิบัติการ (OS) อะไรมาก่อนเลยไบออส (BIOS) บางรุ่นก็อาจจะกำหนดให้มีการบูตจากแผ่นซีดีหรือแฟลชไดร์ฟโดยอัตโนมัติได้

การติดตั้งอูบุนตู (ubuntu server)

ให้เลือกภาษาและคีย์บอร์ดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ใช้งานได้งานได้ง่าย เพราะการใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นปกติจะใช้เป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ถ้าเลือกเป็นภาษาไทยอาจจะมีความยุ่งยากให้การเปลี่ยนภาษาได้ ส่วนโลเคชั่น (Location) ให้เลือกเป็น Asia/Thailand ซึ่งจะมีผลให้เรื่องของการตั้งเวลา และการเลือกเซิร์ฟเวอร์สำหรับการอัพเดทตัวอูบุนตู (Ubuntu)

สำหรับการแบ่งพาทิชั่น (partition) ใช้เลือกเป็นใช้แบบทั้งลูก (Use entire disk) เพื่อง่ายและสำดวกสำหรับการติดตั้งหาใครที่มีความต้องการเป็นพิเศษสามารถเลือกแบบตั้งเองได้ (manually)

ส่วนแพคเกจ (package) ที่ต้องการติดตั้งให้เลือก LAMP สำหรับการรองรับของอาปาเช่ (Apache),มายเอสคิวแอล (MySQL) และพีเอชพี (PHP) เพื่อใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) และแพคเกจ OpenSSH เพื่อใช้สำหรับการทำซีเคียวเชล (Secure Shell หรือ SSH) เข้ามาควบคุมเครื่องได้ในภายหลังจากเครื่องพีซีของเรา

การติดตั้งเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์  (FTP Server)

หลังจากที่เสร็จการติดตั้งแล้วจะเข้าหน้าจอล็อกอินเพื่อเริ่มใช้งาน จากนั้นจะมีการติดตั้ง FTP Server เพื่อให้สามารถรับส่งไฟล์ด้วยการ FTP ได้ โดยโปรแกรมที่ใช้จะเป็น vsftpd โดยการใช้คำสั่ง ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของอูบุนตูเรื่องการติดตั้ง vsftpd ได้

sudo apt install vsftpd

หากไม่สามารถติดตั้งได้โดยแจ้งว่าไม่พบแพคเกจ vsftpd ให้ใช้คำสั่งในการอัพเดทตัว apt ก่อนด้วย

sudo apt-get update

หลังจากติดตั้งแล้วให้ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/vsftpd.conf โดยเพิ่มในส่วนของ

write_enable=YES

หรือใช้การ uncomment ด้วยการเอา # ออกด้านหน้าข้อความนี้ซึ่งมีอยู่แล้วในไฟล์ vsftpd.conf ก็ได้ จากนั้นให้ทำการเริ่มกาทำงานโปรแกรม vsftp ใหม่ด้วยคำสั่ง

sudo service vsftpd restart

การแก้ไขไฟล์สำหรับเว็บไซต์

โฟลเดอร์ (Folder) ที่ใช้เก็บตัวเว็บไซต์จะอยู่ที่ /var/www/html ซึ่งสิทธิ์ในการจัดการเริ่มต้น (Default) จะเป็นของ root ให้เราทำการเปลี่ยนสิทธิ์นี้ให้เป็นของเราก่อนด้วยคำสั่ง

sudo chown -R [username]:[username] /var/www/html

เช่นสมมุติว่าเราใช้ username ว่า sbayit ก็ใช้พิมพ์ว่า

sudo chown -R sbayit:sbayit /var/www/html

ตอนนี้เราก็จะสามารถแก้ไข้ไฟล์ในโฟลเดอร์นี้ได้จากเครื่องพีซีของเราเพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ของเราต่อไปได้