ติดตั้งเวิร์ดเพรส (wordpress) 4.5

เวิร์ดเพรส (wordpress) เป็นเว็บสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการเขียนบทความที่ได้รับความนิยมมากและรองรับภาษาไทยได้ดี สำหรับการติดตั้งนั้นทำได้ง่ายโดยการเริ่มจากการดาวน์โหลดไฟล์สำหรับติดตั้งจากเว็บไซต์ของทางเวิร์ดเพรสของไทยที่ https://th.wordpress.org โดยเวอร์ชั่นที่ทำการทดสอบจะเป็น 4.5.1

การติดตั้ง

จากนั้นถ้าเป็นขั้นตอนของทางเว็บเวิร์ดเพรสไทย (wordpress) จะแนะนำว่าให้ทำการแตกไฟล์ (unzip) ที่เครื่องแล้วทำการแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ในส่วนของฐานข้อมูลแล้วเซฟเป็นชื่อ wp-config.php ด้วยโปรแกรมแก้ไขไฟล์ประเภทโน้ตแพด (notepad) แล้วทำการก๊อปปี้โฟลเดอร์ทั้งหมดไปไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) ด้วยการ FTP

แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนได้เคยพบปัญหาที่ว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) บางเครื่องตั้งค่าการส่งไฟล์ (Upload) ไว้ว่าทุกไฟล์ที่ส่งมาจะถูกเปลี่ยนสิทธิ์ให้สามารถอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ปรากฎว่าไฟล์นี้ทางเวิร์ดเพรส (wordpress) ได้ออกแบบมาว่าต้องมีการเขียนด้วย ทำให้มีปัญหาว่าต้องตามไปแก้สิทธิ์ของไฟล์ด้วยทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน

จึงใช้วิธีการส่งไฟล์ (upload) ไฟล์ซิป .zip หรือ tar.gz ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บเวิร์ดเพรสไทย (wordpress) ไปก่อน แล้วค่อยทำการแตกไฟล์ (unzip) ด้วยคำสั่ง unzip สำหรับไฟล์นามสกุล .zip หรือ tar -zxvf  สำหรับไฟล์นามสกุล .tar.gz  ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งสองแบบจากเว็บไซต์ของทางเวิร์ดเพรสไทย (wordpress) สำหรับการใช้งานซีเคียวเชล (Secure Shell หรือ SSH) สามารถดูได้จากบทความก่อนหน้านี้

ย้ายไฟล์จากการแตกซิป (unzip) ไปยังเว็บไซต์

จากนั้นค่อยทำการคัดลอกไฟล์ที่ได้จากการแตกไฟล์ไปไว้ที่โฟลเดอร์ของเว็บไซต์ ซึ่งถ้าเป็นของอูบุนตู (Ubuntu) จะเป็น /var/www/html/ สำหรับการทำเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยอูบุนตูจะมีรายละเอียดอยู่ในบทความก่อนหน้า ด้วยคำสั่ง

cp -rf wordpress/* /var/www/html/

จากนั้นย้ายโฟลเดอร์ทำงาน (workging directory) ไปที่ /var/www/html/ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้คำสั่งอื่น ๆ ด้วย

cd /var/www/html/

แล้วทำการแก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php โดยคัดลอก (copy) มาเป็น wp-config.php ด้วยคำสั่ง

cp wp-config-sample.php wp-config.php

แก้ไข้ข้อมูลฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ด้วยโปรแกรม pico

pico wp-config.php

ในส่วนของฐานข้อมูลสามารถใช้พีเอชพีมายแอดมิน phpMyAdmin ในการสร้างและจัดการฐานข้อมูลได้ โดย ให้แก้ ชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน เช่น ฐานข้อมูลชื่อ myweb ชื่อผู้ใช้ myweb รหัสผ่าน 123 ให้แก้เป็น

จาก

define('DB_NAME', 'database_name_here');
define('DB_USER', 'username_here');
define('DB_PASSWORD', 'password_here');

เป็น

define('DB_NAME', 'myweb');
define('DB_USER', 'myweb');
define('DB_PASSWORD', '123');

และในส่วนของ Authentication Unique Keys and Salts ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ https://api.wordpress.org/secret-key/1.1/salt/ ของเวิร์ดเพรสเอง ซึ่งรหัสจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่เข้าไปที่เว็บนี้ จากนั้นทำการคัดลอกข้อความมาไว้แทนของเดิม เช่น

จาก

define('AUTH_KEY', 'put your unique phrase here');
define('SECURE_AUTH_KEY', 'put your unique phrase here');
define('LOGGED_IN_KEY', 'put your unique phrase here');
define('NONCE_KEY', 'put your unique phrase here');
define('AUTH_SALT', 'put your unique phrase here');
define('SECURE_AUTH_SALT', 'put your unique phrase here');
define('LOGGED_IN_SALT', 'put your unique phrase here');
define('NONCE_SALT', 'put your unique phrase here');

เป็น

define('AUTH_KEY', 'EgsjB:%OT!m5-~U(K^] S2w@ebjzVeXrP8+mum!kN(sk-w6_ 3?e-2<Pz2ihY:D0');
define('SECURE_AUTH_KEY', 'wq5T8{WOY(zNg$Si=mEs2Hz@xM`loAU0+c-U+!lTffYSVXb9TEXnFOxx-6[7W=hO');
define('LOGGED_IN_KEY', 'NP1z,%.cwEE1~_i#|gtY+)XOZ@Cy+I4JFgM7Qg3$_{RLJf7m{RU?@iX.@A|v ,-+');
define('NONCE_KEY', 'GEiR%+tF$[BY+w@!uTwp~`wN=>|s;;c5oEn@W>BHdc%7>E-t+w/4|;1;o]+T[0EH');
define('AUTH_SALT', 'ff6]+.T$B8oqKqG2-xAK#GCq!jjhAG-;R?=+/%-culZ%&d3Yx5S[[~NG)E7F#+>`');
define('SECURE_AUTH_SALT', 'BfB<<LVC,->Dq=^4l$@4YvA7^;a]>HLd[bM!QMaSPmbh1?kC)QcKb,_~6iL>U-0)');
define('LOGGED_IN_SALT', 'o#^yq(M_4;vZ6lv2bY9}C@Maa>8Fk|$!+$/ABkS;)0OW[#pz;7 s:[PuR|>D9#2Q');
define('NONCE_SALT', 'oHQ[iZ^J`is-cS)f9`@%F=5BzYj=HH-?@~5b*gBA=~&f;914e^;35}^W?-0uD&,h');

จัดเก็บด้วยการกด ctrl+x แล้ว y จากนั้น enter เพื่อยืนยันการจัดเก็บข้อมูลที่ทำการแก้ไขไฟล์ จากตรงนี้จะเป็นการเสร็จสิ้นการแก้ไข้ทาง SSH

ตั้งค่าที่หน้าติดตั้งของเวิร์ดเพรส

โดยเข้าไปที่ไอพีหรือโฮสเนมของเว็บเราด้วยโปรแกรมบราวเซอร์ที่ต้องการ เช่นเว็บเราไอพี 192.168.131.131 ให้เข้าไปด้วย

http://192.168.131.131/wp-admin/install.php

จากนั้นทำการใส่ข้อมูลตามหน้าเว็บของการติดตั้งแล้วกด ติดตั้งเวิร์ดเพรส (wordpress)  ที่ด้านล่างเป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง

เวร์ดเพรจจะแสดงหน้าล็อกอิน (login) ให้เราทำการใส่ค่าที่ตั้งไว้ตอนทำการติดตั้งได้เลย เพื่อเข้าใช้งานเวิดร์ดเพรส (wordpress) ได้ตามปกติ